หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระพิฆเณศ วัดโพรงอากาศ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ได้มีโอกาสไปเที่ยวที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
ที่วัดนี้มี พระพิฆเณศ องค์ใหญ่มาก ปางนั่งค่ะ

วัดกำลังก่อสร้างเพิ่มอีกหลายอย่าง จึงได้ร่วมบุญในครั้งนี้ด้วย
และเก็บภาพมาฝาก



มีผู้คนมากมายมาสักการะบูชา องค์พระพิฆเณศ


บรรยากาศบริเวณวัดโพรงอากาศ

ภาพจาก www.thetrippacker.com

สร้างพระเจดีย์ด้วยสถาปัตยกรรมแบบอินเดีย สวยงามมาก

ภาพจาก www.thetrippacker.com

ภาพจาก www.tripth.com


หากไปทางฉะเชิงเทรา อย่าพลาดการมาที่วัดโพรงอากาศนะค่ะ
.....

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่




วัดพระธาตุดอยสุเทพ หรือ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “ วัดดอยสุเทพ ” นั้น เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ ( สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓ , ๐๕๑ ฟุต ) เลขที่ ๑๒๔ บ้านดอยสุเทพ หมู่ที่ ๙ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๖ ไร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย ( ดูเพิ่มที่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย ) อนึ่ง วัดแห่งนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
          ชื่อของดอยสุเทพนี้เดิมเรียกกันหลายชื่อ นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีชื่อ อุจฉุบรรพต ดอยอ้อยช้าง และดอยกาละ สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ” สันนิษฐานว่าเดิมมีฤาษีตนหนึ่งชื่อวาสุเทพหรือสุเทวฤาษี ( เชื่อกันว่ามีตัวตนจริง เพราะเป็นผู้สร้างนครหริภุญชัยเมื่อ พ . ศ . ๑๒๐๔ : อ้างตาม ชินกาลมาลีปกรณ์ ) มาบำเพ็ญตบะอยู่บนเขาลูกนี้ คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อภูเขาตามชื่อฤาษีตนนั้น
  • วัดพระธาตุดอยสุเทพมีประวัติความเป็นมา ดังนี้คือ
          สร้างขึ้นเมื่อ พ . ศ . ๑๙๒๖ ในสมัยของพระญากือนามหาราชและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ . ศ . ๒๐๑๐ โดยมีตำนานที่เล่าเกี่ยวกับวัดพระธาตุดอยสุเทพไว้ว่า ในสมัยพระญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย ( ครองราชย์ พ . ศ . ๑๘๙๘ - ๑๙๒๘ ) ผู้ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์บนดอยสุเทพ โดยทรงนิมนต์พระมหาสุมนเถระเจ้าจากเมืองสุโขทัยให้มาประกาศศาสนาที่เมือง เชียงใหม่ และในครั้งนั้น พระมหาสุมนเถระเจ้าได้นำเอาพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้ามาด้วย พระญากือนาเกิดความเลื่อมใสมาก จึงโปรดให้มีพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุเพื่อจะได้อัญเชิญไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ ของวัดบุปผาราม ในขณะที่กระทำพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุอยู่นั้นเอง พระบรมธาตุได้แยกออกเป็นสองส่วน พระญากือนากับพระมหาสวามีสุมนะจึงได้พร้อมใจกันทำพิธีบรรจุพระบรมธาตุองค์ ใหม่ไว้ที่วัดสวนดอก ส่วนพระบรมธาตุองค์เดิมนำไปประดิษฐานไว้ที่ดอยสุเทพ โดยเริ่มจากการอัญเชิญผอบพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสถิตเหนือเศวตคชาธารช้างมงคล แล้ว อธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป หากพระบรมธาตุประสงค์จะสถิตอยู่ ณ ที่ใด ก็ขอให้ช้างมงคลหยุด ณ ที่แห่งนั้น และในระหว่างทางที่ช้างมงคลเดินทางไป ก็ได้หยุดเดินถึงสามครั้งทำให้เกิดชื่อของดอยช้างนูนและดอยงาม ครั้งที่สามซึ่งถือเป็นครั้งสำคัญ เนื่องจากช้างมงคลได้ไต่เขาไปจนถึงยอดดอยวาสุเทพบรรพตแล้วร้องเสียงดังจน ก้องสะท้านไปทั่วภูเขา เมื่อเดินประทักษิณ ๓ รอบแล้วจึงคุกเข่าหมอบลง และทันทีที่อาราธนาพระบรมธาตุลงจากหลังแล้ว ช้างมงคลนั้นล้มลงตายในทันที ซึ่งหมายความว่าจะไม่ยอมเป็นพาหนะของผู้ใดอีก
          เหตุการณ์ในครั้งนั้นปรากฏใน พงศาวดารโยนก ว่า “… พระเจ้านครเชียงใหม่ให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่งซึ่ง เสด็จมาใหม่ไว้ในวัดบุปผารามนั้น ส่วนพระบรมธาตุองค์เดิมซึ่งพระมหาสุมนะเถระนำมาจากเมืองสุโขทัยนั้น เมื่อจะแสวงหาที่อันสมควรสร้างพระสถูปเจดีย์จึงเชิญผอบพระบรมธาตุขึ้นสถิต เหนือพระคชาธาร อธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป ช้างทรงพระบรมธาตุนั้นก็บ่ายหน้าเดินออกประตูหัวเวียงไปขึ้นสู่ดอยอุจฉุ บรรพต ( ดอยสุเทพ ) ไปถึงผาลาดก็หยุดรออยู่ครู่หนึ่ง ก็ขึ้นต่อไปจนถึงจอมเขาแล้วก็หยุดอยู่ ณ ที่นั้น พระเจ้านครพิงค์เชียงใหม่กับพระมหาสุมนะเถระจึงพร้อมใจกันสร้างพระเจดีย์ บรรจุพระบรมธาตุนั้นไว้ ณ จอมเขาที่นั้น ในปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๗๔๘ พิศาขมาส เพ็ญวันพุธ จันทร์เสวยฤกษ์ ๑๖ เป็นฤกษ์สถาปนาพระเจดีย์ธาตุสุเทพอันปรากฏอยู่ ณ จอมเขาหลังเมืองเชียงใหม่สืบมาจนทุกวันนี้ ”
         

 การสร้างเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมธาตุ เริ่มจากการขุดยอดดอยลึก ๓ ศอก แล้วเอาแท่งหินใหญ่ ๗ ก้อนมากรุเป็นผนังเหมือนหีบใบใหญ่ เมื่อนำพระบรมธาตุลงวางแล้วใช้หินถมทับให้แน่นหนาจนถึงปากแล้วจึงก่อสถูปสูง ๕ วา ครอบปากหลุมไว้อีกชั้นหนึ่ง พระเจดีย์องค์นี้สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ . ษ . ๑๙๒๘ โดยมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ ๓ วา สูง ๗ วา รูปทรงเป็นแบบรามัญ ต่อมาในสมัยพระเมืองแก้ว ( ระหว่าง พ . ศ . ๒๐๓๘ - ๒๐๖๘ ) มีการเสริมองค์พระเจดีย์ใหม่โดยขยายฐานออกไปด้านละ ๖ วา สูง ๑๒ วา นอกจากนี้ในรัชสมัยของพระเจ้าทรายคำ ( ประมาณปี พ . ศ . ๒๑๘๑ ) พระองค์ได้พระราชทานทองหนัก ๑ , ๗๐๐ บาท ให้ตีแผ่นเป็นทองจังโกปิดพระบรมธาตุ อนึ่ง ในปี พ . ศ . ๒๐๘๘ มีการก่อสร้างวิหารและในปี พ . ศ . ๒๑๐๐ พระมหามงคลโพธิเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างบันไดนาคซึ่งสูง ๓๐๐ ขั้นทอดยาวขึ้นไปสู่วัด นอกจากนี้ในสมัยของพระเจ้ากาวิละมีการสร้างวิหารขึ้น ๒ หลัง ทางทิศตะวันตกและตะวันออกของพระบรมธาตุ ตลอดจนทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระบรมธาตุด้วยการสร้างฉัตรโลหะปักไว้ที่มุม และสร้างรั้วเหล็กล้อมรอบองค์พระธาตุ
          จากนั้นก็ได้สร้างถนน ขึ้นสู่ดอยสุเทพ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ . ศ . ๒๔๗๗ สำเร็จสมบูรณ์ในเดือนเมษายน พ . ศ . ๒๔๗๘ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๑ กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง ๕ เดือน กับอีก ๒๒ วัน โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านทั่วภาคเหนือ และมีท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมกับเจ้าแก้วนวรัฐซึ่งเป็นประธานฝ่ายฆราวาส
          อาคารเสนาสนะโบราณวัตถุและปูชนียวัตถุ ของวัดประกอบด้วยอุโบสถทรงล้านนา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังภาพประวัติพระธาตุดอยสุเทพ พระวิหาร ๒ หลัง ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธ ด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพฤหัส ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์จำนวน ๓๐ หลัง ศาลาที่พักประชาชนหอฉัน สำนักชี ห้องสมุด หอพิพิธภัณฑ์ พระประธานในอุโบสถ พระพุทธรูปแบบพระสิงห์นั่งขัดสมาธิเพชร อนุสาวรีย์ช้างมงคล ( ช้างพระที่นั่งของพระเจ้ากือนาที่บรรทุกโกศพระบรมธาตุเสี่ยงทายขึ้นมาบนดอย สุเทพ ) อนุสาวรีย์พระสุเทวฤาษี บันไดนาคซึ่งตัวนาคยาวถึง ๖๐ วา ตลอดจนปูชนียวัตถุที่สำคัญมากของวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งได้แก่ พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเจดีย์แบบสุโขทัยที่เข้ามาสู่อาณาจักรล้านนาใน สมัยนั้น ลักษณะโดยละเอียดขององค์เจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ คือ องค์เจดีย์มีเนื้อที่ฐานด้านละ ๖ วา รวม ๔ ด้าน เป็นเนื้อที่ ๓๖ ตารางวา
          สำหรับสังเวียนเหล็ก ( รั้วเหล็ก ) ซึ่งมีขนาดด้านละ ๗ วา นั้น ด้านตะวันออกมีซี่ ๑๒๐ เล่ม ด้านตะวันตกมี ๑๓๓ เล่ม ด้านใต้มี ๑๓๐ เล่ม และด้านเหนือมี ๑๒๐ เล่ม รวมทั้ง ๔ ด้านเป็นจำนวน ๕๐๓ เล่ม นอกจากนี้ มีปราสาทอยู่ทั้ง ๔ มุม ราวเทียนอีกด้านละ ๙ วา ๓ ศอก รวม ๔ ด้านได้ ๓๙ วา อนึ่ง ด้านตะวันออกมีประทีปทอง ๒๙ ดวง ด้านตะวันตก ใต้ และเหนือมีทิศละ ๒๗ ดวง ที่มุมทั้ง ๔ มีอีกมุมละ ๔ ดวง รวมทั้งหมดมี ๑๑๓ ดวง

คำนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพมีด้วยกัน ๕ บท คือ
บทที่ ๑ คำนมัสการเฉพาะองค์พระธาตุ “ สุวรรณเจติยัง เกชาวะระ มัตถะลุงคัง วะรัญญะ ธาตุง สุเทเวหิ สัพพบูชิตัง นะราเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโย ”
บทที่ ๒ คำนมัสการองค์พระธาตุด้านทิศตะวันออก “ ปัญญาวะสมิง เยวะจันทิมา ทาวัยยะ ”

บทที่ ๓ คำนมัสการองค์พระธาตุด้านทิศใต้ “ ปิตะกะตะเย สาสะนิยา นิเกติ ”

บทที่ ๔ คำนมัสการองค์พระธาตุด้านทิศตะวันตก “ โมณะ ปะถะ มะวะลัง ปาปายะฌานัง อะระหัง สังฆะ โสปานัง ”

บทที่ ๕ คำนมัสการองค์พระธาตุด้านทิศเหนือ “ ปะถะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตะวา ปัตตะจีวะรัง ยังยัง ฌาตังตัง สังฆมัชเฌ ปุจฉาสวานะ ”
อนึ่ง ทุก ๆ ปี จะมีงานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยสุเทพซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๖ และวันเพ็ญ เดือน ๗ หรือวันวิสาขบูชา
          นอกจากปูชนียวัตถุ สถานที่ได้กล่าวถึงข้างต้น วัดพระธาตุดอยสุเทพยังมีโบราณสถานในเขตระเบียงคดโดยรอบซึ่งได้รับการประกาศ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ . ศ . ๒๔๗๘
สำหรับอาวาสรูปสำคัญ ของวัดพระธาตุดอยสุเทพได้แก่ ครูบาเถิ้ม ( พ . ศ . ๒๔๗๕ – ๒๔๗๙ ) พระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ ( ชมพู ) ( พ . ศ . ๒๔๗๙ – ๒๔๙๔ ) พระเทพวิสุทธาจารย์ ( อินสม อาคาร ) ( พ . ศ . ๒๔๙๔ – ๒๕๒๓ ) พระสุเทพสิทธาจารย์ ( คำ ธัมมะจาโร ) ( พ . ศ . ๒๕๒๓ – ๒๕๓๙ ) และเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพองค์ปัจจุบัน ( พ . ศ . ๒๕๓๙ ) คือ พระราชรัตนากร
          นอกจากวัดพระธาตุ ดอยสุเทพจะมีความสำคัญต่อจิตใจของประชาชนชาวเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นศาสนสถาน อันควรเคารพแล้ว ยังมีความสำคัญทางด้านการศึกษาอีกด้วย คือมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลี อีกทั้งวัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากเหล่าเจ้านายผู้ครองเมืองมาโดยตลอด จึงทำให้ทางวัดได้รับพระราชทานให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๕๐๖

ข้อมูลอ้างอิง : http://www.doisuthep.com
ข้อมูลภาพ : http://www.zidopics.com/webboard/index.php?topic=599.0

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช




วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณ ค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ ประวัติ การสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด นอกจาก ประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ ซึ่งเป็น เอกสารที่ี่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก หลักฐานทางเอกสาร ที่ชัดเจน ปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร อุปราชปักษ์ใต้ทรงพระสงฆ์จากวัดเพชรจริก มาดูแล รักษาวัด และคราวที่รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ประวัติ จากตำนานที่เล่า เรื่องการก่อสร้างพระบรมธาตุมีหลายสำนวนสามารถประมวล เนื้อหาได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้นชมพูทวีปได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเก็บ รักษา เคารพบูชา มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองทนธบุรี ได้พระทันตธาตุมาเก็บรักษาไว้ ต่อมามีกษัตริย์จากเมืองอื่นยกทัพ มาเพื่อขอแบ่งพระทันตธาตุ กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้ พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสอัญเชิญพระทันตธาตุ ลงเรือหนีไปลังกา เผอิญเรือกำปั่นถูกพายุพัด เรือแตกทั้งสองพระองค์มาขึ้นฝั่ง ณ หาดทรายแก้ว แล้วฝังพระทันตธาตุไว้ เรื่องราวดำเนินต่อไปจนทั้งสอง พระองค์ได้กลับไปลังกา โดยมีพระทันตธาตุสวน หนึ่งยังฝังอยู่ที่หาดทรายแก้วต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้มาพบพระทันตธาตุ และโปรดให้ สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้ว จนสำเร็จเมืองดังกล่าวก็คือ เมืองนครศรีธรรมราชพระบรมธาตุเจดีย์ก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อกันว่าเดิมเป็นเจดีย์แบบอิทธิพลศิลปะ ศรีวิชัย คือเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีหลังคาเป็น สถูปห้ายอดคล้ายพระบรมธาตุเจดีย์ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อายุราว พุทธศตวรรษที่ 13-15 ต่อมา พระสถูปแบบศรีวิชัยทรุดโทรมลง จึงได้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ทรงลังกาซึ่งเป็นเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบไว้ เชื่อกันว่าในขณะนั้นคือราวพุทธศตวรรษที่ 18 อิทธิพลพุทธศาสนาแบบลังกาในดินแดน นครศรีธรรมราช เข้มแข็งมาก นครศรีธรรมราช จึงได้รับอิทธิพลทั้งศาสนาและศิลปกรรมจากลังกา ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลทรงวินิจฉัยว่าพระบรมธาตุเจดีย์ ปัจจุบัน มีลักษณะคล้ายเจดีย์กิริเวเทระในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศ ศรีลังกา สร้างในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ราวต้น พุทธศตวรรษที่ 18 พระบรมธาตุเจดีย์ ก็ควรสร้างหลัง จากนั้นมากส่วนสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ล้วนเป็นของที่สร้างขึ้นใน สมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่จะ มีสิ่งก่อสร้างในสมัย ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บ้าง เช่น วิหารทับเกษตร วิหารพระแอด เป็นต้น



คำบูชาพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด3จบ)
อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิธาตุโย อะหังวันทามิสัพพะโส
อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ (กราบ3ครั้ง)

พระธาตุหริภุญชัย จ. ลำพูน

พระธาตุหริภุญชัย จ. ลำพูน


ประวัติพระธาตุหริภุญชัย (วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จ.ลำพูน) เป็นปูชนียสถานสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และเป็นมิ่งขวัญของชาวลำพูน ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ในกลางเมืองลำพูน ภายในวัดเป็นลานกว้าง มีวิหารหลายหลัง หอระฆังสวยงาม ปรากฏในตำนานว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์นครหริภุญชัยราว พ.ศ.1586 ต่อมาได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุนี้อีกหลายครั้งในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชเมื่อ พ.ศ.1986 ได้โปรดให้เสริมพระธาตุเป็น 23 วา ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก ยอดมีฉัตร 7 ชั้น
หลังจากนั้นพระเมืองแก้วได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วล้อมพระธาตุ 500 เล่ม แล้วทรงสร้างวิหารหลวง และใน ปีพ.ศ.2329 พระเจ้ากาวิละได้ทรงทำการบูรณะพระบรมธาตุ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้น 4 มุม และสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น 9 ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 10 วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์ด้านในองค์พระธาตุเป็นสีทองอร่ามเป็นที่ต้องตาต้องใจนักท่องเที่ยวต่างเมืองผู้มีโอกาสได้ไปเยือนยิ่งนัก ทางจังหวัดลำพูนได้จัดให้มีงานนมัสการประจำปีขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 6 ซึ่งก็คือวันวิสาขบูชา

คำบทสวดบูชาพระธาตุหริภุญชัย ประจำปีระกา (ตั้งนโม 3 จบ)

สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐัง
วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิเสฎฐัง
สะหะอังคุลิฎฐิง กัจจายะเนนา
นิตะปัตตัปปะการัง สีเสนะ
มัยหัง ปะระมามิธาตุง

พระพิฆเณศ : ประสบการณ์เกี่ยวกับเกี่ยวกับพระพิฆเณศ

ผู้เขียน ขออนุญาตเล่าประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้น
เป็นความเชื่อส่วนบุคคล
ผู้เขียน เปิดร้านขายของมาได้เกือบปี ลูกค้าน้อยมาก ไม่ได้กำไรอะไรเลย
มีอยู่วันนึง เพื่อนนำ พระพิฆเณศขนาด 3นิ้ว มาให้บูชา
จึงเอาท่านมาไว้ที่ร้าน
ได้สวดบูชาท่าน จุดกำยานถวาย
หลังจากนั้น ก็ฝันว่าขับรถไปที่ร้าน มองหาหน้าร้านตัวเองไม่เจอ ทั้งที่ขับผ่านไปตรงนั้น
วนไงก็ไม่เจอ หน้าร้านมืดไปหมด เหมือนมีอะไรมาปิดไว้
ผู้เขียน ตื่นมา แปลความฝันว่า ท่านคงมาบอกว่า ที่ร้านไม่มีลูกค้า เพราะว่ามีอะไรมาบังไว้
และผู้เขียน นึกได้ว่า ยังไม่ได้ไปจุดธูปบอกกล่าวเจ้าที่เลย

เป็นประสบการณ์เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับพระพิฆเณศ
อยากให้มาช่วยแชร์ประสบการณ์กันหน่อยคะ







พระพิฆเณศ : บทสวดบูขาพระพิฆเณศ

บทสวดมนต์ หรือ คาถา สำหรับบูชาพระพิฆเนศนั้น ในแบบดั้งเดิมโบราณ มีเป็นร้อยๆ กว่าบท..ชาวพุทธสามารถตั้งนะโม 3 จบแล้วค่อยสวดมนต์บูชาเทพทางพราหมณ์ได้ แต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์จะเริ่มสวดบูชาพระพิฆเนศเป็นอันดับแรก แล้วต่อด้วยการสวดบูชาเทพองค์อื่นๆที่นับถือเพิ่มเติม


ขั้นตอนการบูชาพระพิฆเนศ
เพื่อการสวดบูชาให้ได้ผลสูงสุด ควรเลือกเวลาที่เงียบสงัด เช่น เช้าตรู่ หรือ ก่อนนอน จะได้ไม่มีเสียง รบกวนจากผู้อื่น

1. นำของสังเวยทั้งหมด (น้ำ นม ผลไม้ ขนมหวาน) วางไว้หน้าเทวรูป
2. ดอกไม้ ถ้าเป็นช่อหรือดอกเดียวให้วางไว้ข้างหน้า ถ้าร้อยเป็นพวง สามารถนำไปคล้องที่พระกร หรือศาสตราวุธของเทวรูปได้
3. จุดกำยาน ธูป ประทีป เทียน
4. การพนมมือ ให้พนมมือแบนราบติดกันนะครับ ไม่ใช่แบบดอกบัวตูม แล้วตั้งจิตให้สงบนิ่ง
5. เมื่อจิตสงบนิ่งแล้ว ก็เริ่มสวดบูชา...

การสวดมนต์นั้น ท่านสามารถใช้บทสวดใดก็ได้เพียงบทเดียว หรือจะสวดหลายๆ บทให้ต่อเนื่องกันก็ยิ่งดี
การสวดมนต์นั้น หากยังจำบทสวดหลายๆบทไม่ได้ ก็ให้เลือกมา 1 บทที่จำได้ส่วนใหญ่นิยมเป็น โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
หากมีเวลาน้อย สวดเพียง 1 จบก็เพียงพอ แต่ถ้ามีเวลามาก แนะนำให้ทำสมาธิด้วยการสวดมนต์ โดยวนไปเรื่อยๆ หรือจะเป็น 108 จบก็ดี
6. เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้ว ก็ขอพรตามประสงค์
จากนั้นให้กล่าวคำว่า "โอม ศานติ...โอม ศานติ...โอม ศานติ" เพื่อขอความสันติให้บังเกิด เป็นอันเสร็จสิ้น
จะบูชาอย่างไรก็ตาม หลักสำคัญคือ ขณะสวดบูชาให้ตั้งสติให้แน่วแน่ สร้างบรรยากาศให้เกิดสมาธิ สวดมนต์ให้ถูกต้อง บูชาด้วยใจที่บริสุทธิ์ ไม่ขอพรด้วยความโลภ ไม่ขอพรที่มีการสาบแช่งผู้อื่น ไม่ขอพรด้วยความท้าทาย หากปฏิบัติขั้นตอนใดผิดพลาดก็ให้ขอขมา บารมีขององค์ท่าน ก็คุ้มครองเราได้
คาถาบูชา บทสวดมนต์ง่ายๆ สำหรับบูชาพระพิฆเนศ
หมายเหตุ : บทสวดของพราหมณ์-ฮินดู จะลงท้ายด้วย...นะมะห์ หรือ นะมะฮา หรือ นะมะหะ ใช้คำไหนก็ได้ไม่ผิดเพี้ยน ภาษาอังกฤษจะเขียนว่า NAMAH
โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
ขอความสำเร็จในด้านต่างๆ มีโชค และมีทรัพย์เงินทอง สมความปรารถนา

(บูชาแบบสั้นๆ เมื่อเดินผ่านตามเทวาลัย, วัดต่างๆที่พระพิฆเณศประดิษฐานอยู่)
โอม พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

(บทสวดของไทย สวดทุกวันเพื่อเป็นสิริมงคล)

โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ
พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง
สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม

(พระพิฆเณศวร์ คาถาพระพิฆเณศวร์ใช้สวดเพื่อขอพรหรือปัดเป่าเหตุร้าย )
โอม ศรีคะเนศายะนะมะ
ชะยะคะเณศะ ชะยะคะเณศะ ชายะคะเณศะ
เทวา มาตา ชากี ปะระ วะตี ปิตามะหา เทวา ละฑุวัน
กา โกคะ ละเค สันตะ กะเร เสวา เอก ทันตะ
ทะยาวันดะ จาระ ภุชา ธารี มาเถ สินทูระ เสเห
มูเส กี อะสะวารี อันธะนะ โก อางขะ เทตะ
โก กายา พามณะนะ โก กุตรร เทตะ
โกทินะ นิระทะนะ มายาฯ

(คาถาบูชาพระพิฆเนศ ใครบูชาจะพ้นจากอุปสรรค ประสบความสำเร็จ)

ขอบคุณข้อมูลจาก:
horoscope.sanook.com/5509/

พระพิฆเนศ : เทศกาลคเณศจตุรถี



เทศกาลคเณศจตุรถี นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการบูชาพระพิฆเนศ จะกระทำในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวันกำเนิดของพระพิฆเนศ เชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ท่าน เทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมบูชาและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วอินเดียและทั่วโลก มีการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่โตมโหฬาร เพื่อเข้าพิธีบูชา จากนั้นจะแห่องค์เทวรูปไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่างๆ ถนนหนทางทั่วทุกหนแห่งจะมีแต่ผู้คนออกมาชมการแห่องค์เทวรูปนับร้อยนับพันองค์ ผู้ศรัทธาทุกคนแต่งชุดส่าหรีสีสันสวยงาม ขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี ฯลฯ แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล
เทศกาลคเณศจตุรถีและพิธีกรรมต่างๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ "เอกวีสติ ปัตรบูชา" หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://th.m.wikipedia.org

พระพิฆเนศ : ประวัติพระพิฆเนศ



ในคราวที่พระศิวะเทพทรงไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระแม่ปารวตีเนื่องจากอยู่องค์เดียวเลยเกิดความเหงา และ ประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์และป้องกันคนภายนอก ที่จะเข้ามาก่อความวุ่นวายในพระตำหนักใน
จึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่องค์ศิวเทพ เสด็จออกไปตามพระกิจต่าง ๆ มีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงในพระตำหนักด้านในนั้น องค์ศิวเทพได้กลับมาและเมื่อจะเข้าไปด้านในก็ถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกัน ศิวเทพก็ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่มนั้นเป็นพระโอรสที่พระแม่ปารวตีได้เสกขึ้นมา

เมื่อพระองค์ถูกขัดใจก็ทรงพิโรธและตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้พลาง ถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใครเพราะตนกำลังทำตามบัญชาของพระแม่ปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรง จนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของมหาเทพจนสิ้นใจ และศีรษะก็ถูกตัดหายไป
ในขณะนั้นเองพระแม่ปารวตีเมื่อได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาลก็เสด็จออกมาด้านนอกและถึงกับสิ้นสติเมื่อเห็นร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อได้สติก็ทรงมีความโศกาอาดูร และตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง
เมื่อได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่าเช่นนั้นองค์มหาเทพก็ตรัสว่าจะทำให้เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่แต่ก็เกิดปัญหา เนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่งกระวนกระวายใจเนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วก็จะไม่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้ เมื่อเห็นเช่นนั้นพระศิวะเลยโยนตรีศูลอาวุธของพระองค์ออกไปหาศีรษะสิ่งที่มีชีวิตแรกที่พบมาและปรากฏว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมาซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อให้และชุบชีวิตให้ใหม่พร้อมยกย่อง ให้เป็นเทพที่สูงที่สุด และขนานนามว่า พระพิฆเนศวร ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรคและยังทรงให้พรว่าในการประกอบ

พิธีการต่าง ๆ ทั้งหมดนั้นจะต้องทำพิธีบูชาพระพิฆเนศวรก่อนเพื่อความสำเร็จของพิธีนั้น
เนื่องจากพระพิฆเนศวรมีพระวรกายที่ไม่เหมือนเทพอื่น ๆ นั้น ได้มีการอธิบายถึงพระวรกายของพระองค์ท่านดังนี้
  1. พระเศียรของท่านหมายถึงวิญญาณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิต
  2. พระวรกายแสดงถึงการที่เป็นมนุษย์ที่อยู่บนพื้นปฐพี
  3. ศีรษะช้างแสดงถึงความเฉลียวฉลาด
  4. เสียงดังที่เปล่งออกมาจากงวงหมายถึงคำว่า โอม ซึ่งเป็นเสียงแสดงถึงความเป็นสัจจะของสุริยจักรวาล
  5. หระหัตถ์บนด้านขวาทรงเชือกบ่วงบาศน์ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะและหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง
  6. พระหัตถ์บนซ้ายทรงเชือกขอสับที่ใช้ในการป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก
  7. มือขวาล่างทรงงาที่หักครึ่งซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นปากกาในการเขียนมหากาพย์มหาภารตะให้ฤๅษีวยาสและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเสียสละ
  8. อีกมือทรงลูกประคำที่แสดงว่าการแสวงหาความรู้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  9. ขนมโมทกะหรือขนมหวานลัดดูในงวงเป็นการชี้นำว่ามนุษย์จะต้องแสวงหาความ หวานชื่นในจิตวิญญาณของตนเองเพื่อที่จะได้มีจิตเอื้อเพื้อเผื่อแผ่ให้กับคนอื่น ๆ
  10. หูที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัดหมายความว่าท่านพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา
  11. งูที่พันอยู่รอบท้องท่านแสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ
  12. หนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะแสดงถึงความไม่ถือองค์และพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็กและเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก

ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://th.m.wikipedia.org

พระพิฆเนศ : ลักษณะของพระพิฆเนศวร

มีรูปกายเป็นมนุษย์เพศชายอ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว (ถูกขวาน ปรศุรามหักเสียงา) 
สีกายสีแดง (บางแห่งว่าผิวเหลือง นุ่งห่มแดง)
มีสี่กร พระหัตถ์หน้าขวาถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายถือขันน้ำมนต์ เป็นกะโหลกศีรษะมนุษย์ พระหัตถ์หลังขวาถือ ตรี พระหัตถ์ซ้ายถือบาศ (บ่วง) 
หนู นับเป็นสหายของพระพิฆเนศวร ไม่ใช่เป็นพาหนะ




ขอบคุณข้อมูลจาก : 
https://th.m.wikipedia.org

พระพิฆเนศ : เกริ่นนำ

พระคเณศ (สันสกฤตगणेश, ทมิฬபிள்ளையார்) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ เป็นเทพในศาสนาฮินดู นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง)



ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการบูชาเทพองค์ต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์อยู่มากมาย รวมทั้งองค์พระพิฆเณศ ซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ดูได้จากการพบรูปสลักพระพิฆเณศในเทวสถานตามเมืองต่างๆ ทั่วทั้งประเทศไทย โดยมีหลักฐานการค้นพบองค์เทวรูปบูชาพระพิฆเณศที่เก่าแก่ในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นต้นว่าองค์เทวรูปบูชานั้นสลักจากหิน ค้นพบทางแถบจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
คนไทยถือว่าองค์พระพิฆเนศวรเป็นที่เคารพสักการะในฐานะองค์บรมครูแห่งศิลปวิทยาการ 18 ประการ โดยคนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเนศวรให้เป็นเทพแห่งศิลปะทั้งมวล และเป็นเทพองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์ได้สถาปนาพระพิฆเนศวร เป็นเทพพระองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีใดๆ เป็นการคารวะในฐานะบรมครูผู้ประสาทปัญญาและความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป กิจการทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หน่วยงานราชการกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ถือเอาพระพิฆเนศวรเป็นสัญลักษณ์
พระพิฆเนศวรเป็นโอรสของพระศิวะและพระแม่ปารวตี มีรูปกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง ทุกคนเคารพนับถือท่านในฐานะที่ท่านเป็น "วิฆเนศ" นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเจ้าแห่งอุปสรรค ที่สามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และอีกความหมายถึง ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่งหรือเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญญะ รูปกายที่อ้วนพีนั้นมีความหมายว่า ความอุดมสมบูรณ์ เศียรที่เป็นช้างมีความหมาย หมายถึงผู้มีปัญญามาก ตาที่เล็กคือ สามารถมอง แยกแยะสิ่งถูกผิด หูและจมูกที่ใหญ่หมายถึง มีสัมผัสพิจารณา ที่ดีเลิศ พระพิฆเนศวรมี หนู เป็นสหาย (บางท่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพาหนะ) ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิด ที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจตน
ขอบคุณข้อมูลจาก :